วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปุ๋ยบำรุงพืช ต้นไม้ต่างๆ

แตกต่างจากปุ๋ยทั่วไปคือไม่มีสารเคมีเจือปน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์
คัดสรรมา และผ่านการทดลองใช้มาแล้ว มีดังนี้

1. SUPERGOLD CHITOPLUS (ซุปเปอร์โกลด์ ไคโตพลัส)


2. PRO FIGHT 1 (โปรไฟท์1)


3. SUPERGOLD BIOPLUS(ซุปเปอร์โกลด์ ไบโอพลัส)
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่email : nukarn_01@hotmail.co.th

ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ที่รับประทานแล้วดีมากๆ นำมาบอกต่อนะค่ะเพื่อสุขภาพของเรา


 

1.ALFALFA (อัลฟัลฟา)




2. GEx- GIN (จีเอ็กซ์-จิน)

3.COLLAGEN GEx (คอลลาเจน จีเอ็กซ์)

4.CoQ-10 GEx (โคคิวเทน จีเอ็กซ์)


5.FRIEND COFFE (เฟรนด์คอฟฟี่)

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ จะเพิ่มเติมให้อีกนะค่ะ ในภายหลัง
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ ติดต่อemail : nukarn_01@hotmail.co.th

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ถ้ำสุมโน จ.พัทลุง

ถ้ำสุมโน จ.พัทลุง

 ถ้ำสุมโน เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยและมีห้องโถงกว้างขวางใหญ่โตและร่มเย็นวิจิตร ตระการตาตามธรรมชาติซึ่งมีทั้งหมด 18 ถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายองค์ บริเวณถ้ำยังเป็นสถานที่วิปัสสนาและปฏิบัติธรรมอีกด้วย ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปถ้ำสุมโน

อยู่ตำบลบ้านนา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเพชรเกษม (สายพัทลุง-ตรัง) ประมาณ 21 กิโลเมตร ตัวถ้ำห่างจากถนนประมาณ 500 เมตร

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

การเดินทางไปยัง จังหวัดพัทลุง



การเดินทางไปยังพัทลุง
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม)ผ่านนครปฐม ราชบุรี หรือไปตามทางหลวงหมายเลข 35(ธนบุรี-ปากท่อ)ผ่านสมุทรสาครจนถึงแยกวังมะนาวแล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ถึงชุมพรเลี้ยวขวาผ่านระนอง พังงา กระบี่ตรัง จนถึงพัทลุง รวมระยะทาง 1140 กม.
เมื่อถึงชุมพร ใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี ทุ่งสง ป่าพยอม เข้าเมืองพัทลุง ระยะทาง 840 กม.
จากชุมพรตามทางหลวงหมายเลข 41 ถึงอำเภอพุนพิน แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 401ผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี ท่าศาลา เมืองนครศรีธรรมราช แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข403 ผ่านร่อนพิบูลย์ เข้าทางหลวงหมายเลข 41ที่ชุมทางเขาชุมทองไปเมืองพัทลุง

ทางรถไฟขบวนรถเร็วและรถด่วนสายใต้ที่ผ่านชุมทางหาดใหญ่ทุกขบวนจะผ่านจังหวัดพัทลุงสอบถามรายละเอียดและตารางการเดินรถได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690,02223 7010,0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th และที่สถานีรถไฟพัทลุง โทร.0 7461 3106

รถโดยสารประจำทางมีรถโดยสารระหว่างกรุงเทพฯ-พัทลุง ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ถนนบรมราชชนนีทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.0 2434 5557-8,024351199,02435 1200 หรือ www.transport.co.th และที่สำนักงานพัทลุง 0 7461 2070

รถโดยสารปรับอากาศเอกชน บริษัท ทรัพย์ไพศาล โทร.0 2435 5017,0 7461 2055

ทางเครื่องบิน จังหวัดพัทลุงไม่มีสนามบิน แต่สามารถไปลงเครื่องบินที่ตรังหรือหาดใหญ่แล้วต่อรถโดยสารมาพัทลุง
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญในจังหวัดพัทลุง

สถานีตำรวจภูธร: โทร.0-7461-1613
โรงพยาบาล: โทร.0-7461-3008, 0-7462-0484-5
สถานีเดินรถ (บขส): โทร.0-7461-2070
สถานีรถไฟพัทลุง: โทร.0-7461-3106, 0-7461-2567
ตำรวจทางหลวง: โทร.1193
ตำรวจท่องเที่ยว: โทร.1155
ศูนย์กู้ชีพ นเรนทร: โทร.1669

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

มารู้จักสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เขาเจ็ดยอด จ.พัทลุง

26977Panorama1.1.jpg - upload images with Picamatic
18867Panorama3.1.jpg - Picamatic - upload your images

เขาเจ็ดยอด อยู่บนเทือกเขาบรรทัดเป็นผืนป่า ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็นแหล่งกำเนิดของต้นล้ำลำธารที่มีความสำคัญหลายสาย ไหลลงสู่พื้นที่ราบในจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล และจังหวัดสงขลา อดีตเคยเป็นเขตการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) โดยเป็นแหล่งช่องสุมกำลังที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ แต่ปัจจุบันผืนป่าแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่กว้างบนสันเขาที่มียอดเขาสูงไล่เลี่ยกัน 7 ยอดจนเป็นที่มาของชื่อ \_เขาเจ็ดยอด\_ เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย สภาพอากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นตลอดทั้งปี บริเวณโดยรอบถูกปกคลุมด้วยมีต้นไม้แคระสลับกันทุ่งหญ้ากว้าง
การเดินทางจากตัวเมืองพัทลุงขึ้นเขาเจ็ดยอด สามารถขึ้นได้ทางน้ำตกไพรวัลย์ โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทั้งไปและกลับรวม 3 วัน 2 คืน นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปกางเต็นท์บนเขาเจ็ดยอด และสัมผัสทะเลหมอกในยามเช้า ชมแสงสียามค่ำคืนจากแสงไฟในตัวเมืองที่อยู่รายรอบทั้ง 4 จังหวัด คือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา ในยามเช้า เทือกเขาบรรทัดที่เขาเจ็ดยอดแสงแดดอ่อน ๆ ทอดแสงเงาลงตามเหลี่ยมเขาแลเห็นเป็นสีส้ม สวยงามและอบอุ่น และเมื่อมองลงไปเบื้องล่างยังฟากภูเขาตะวันตก จะมองเห็นฝั่งทะเลอันดามันและจังหวัดตรัง ถูกโอบคลุมด้วยปุยหมอกขาวนวลอยู่ลิบ ๆ บรรยากาศช่างน่าหลงไหลยิ่งนัก
jedyod01.JPG - upload images with Picamatic
jedyod02.JPG - image uploaded to Picamatic
jedyod03.JPG - image uploaded to Picamatic
เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูล : คู่มือท่องเที่ยวพัทลุง โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดพัทลุง

จังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง


ที่ตั้ง

จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิปดาเหนือถึง 7 องศา 53 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 9 องศา 44 ลิปดาตะวันออก
ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร
ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 78 กิโลเมตรและความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ (พื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่)
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 65 ตำบล 626 หมู่บ้าน 

  1. อำเภอเมืองพัทลุง
  2. อำเภอกงหรา
  3. อำเภอเขาชัยสน
  4. อำเภอตะโหมด
  5. อำเภอควนขนุน
  6. อำเภอปากพะยูน
  7. อำเภอศรีบรรพต
  8. อำเภอป่าบอน
  9. อำเภอบางแก้ว
  10. อำเภอป่าพะยอม
  11. อำเภอศรีนครินทร์ 

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัดพัทลุง ปรากฏเป็นรูปภูเขาอกทะลุซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัด ซึ่งภูเขาอกทะลุนี้ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมืองพัทลุง ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีบันไดทอดตัวยาวขึ้นจากเชิงเขาถึงถ้ำซึ่งเป็นรูอยู่ตรงกลางเพื่อให้นักท่อง เที่ยวขึ้นไปชมทิวทัศน์ของจังหวัดพัทลุงได้อย่างกว้างขวาง หากแต่ปัจจุบันยังขาดการดูแล ปรับปรุงและพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพะยอม (Shorea roxburghii)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นพะยอม (Shorea roxburghii)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน


 ขอขอบคุณข้อมูล จากวิกิพีเดียไทย


 

ประวัติความเป็นมาจังหวัดพัทลุง



จังหวัดพัทลุง มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากการค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอ ในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 -14) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมนุมที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ในด้านพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก เป็นรูปพระโพธิสัตว์รูปเทวดา โดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุง ได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคง ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ในสมัยนั้นเมืองพัทลุงมักจะประสบปัญหาการโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่ เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโจรสลัดอาแจะอารูและยุยงคตนะ ได้โจมตีเผาทำลายสร้างความเสียหายแก่เมืองพัทลุง ถึงสองครั้ง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมือง อยู่เสมอ และก็เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวเมืองพัทลุงเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็งใน สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้ง และได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโท ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช         

ใน ช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำสำคัญในการสร้างความเจริญ และความมั่นคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน อาทิเช่น พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา(ทองขาว) พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทโรจนวงศ์) ได้ป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ.2328 - 2329) พระมหาช่วย วัดป่าลิไลย์ ได้นำชาวพัทลุงต่อสู้ป้องกันการรุกราน ของพม่าจนได้รับความดีความชอบ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาช่วยทุกขราษฎร์ ช่วยราชการเมืองพัทลุงนอกจากสงครามกับพม่าแล้ว ชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ ในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฎอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุงพร้อมด้วย เสบียงอาหารไปทำสงคราม ปราบปรามกบฏในหัวเมืองมาลายู เช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ. 2373 และ พ.ศ.2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองพัทลุงทางด้านการเมือง การปกครองและแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำในอดีตเป็นอย่างดีครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ. 2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่บ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสะดวกในการติดต่อกับเมืองต่าง ๆ จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง สถานที่ที่เคยเป็นเมืองที่ตั้งเมืองพัทลุงได้แก่1. โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน2. บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง3. เขาชัยบุรี(เขาเมืองฯ) ปัจจุบัน คือตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง4. ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช5. เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง6. บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง7. บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 6 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง8. บ้านโคกลุง ปัจจุบัน หมู่ที่4 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง