วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีทำน้ำข้าวกล้องงอกด้วยตัวเอง






ขั้นตอนการทำน้ำข้าวกล้องสำหรับรับประทานเอง
           1.คัด เลือกข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นข้าวกล้อง ใหม่ ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่เกิน 2 สัปดาห์ (ถ้าเป็นข้าวเก่า ส่วนปลายจะไม่สามารถงอกออกมาได้)

           2.นำเมล็ดข้าวกล้องใหม่นั้นมาซาวน้ำ ล้างเอากรวดทรายออกก่อนหนึ่งครั้ง

           3.นำข้าวกล้องไปแช่น้ำประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง จะเกิดเป็นตุ่มงอกสีขาวขึ้นมาที่เมล็ดข้าว

           4.จาก นั้นนำข้าวขึ้นมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปต้มให้เดือดโดยใช้ไฟปานกลาง แต่อย่าให้เดือดมาก เพราะถ้าร้อนมากไป สารกาบาจะถูกทำลายมาก แต่หากเดือดพอดีแล้วให้เคี่ยวต่อไปสัก 15-20 นาที สารกาบาจะยังเหลืออยู่ถึง 70% ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย

           5.เสร็จแล้วให้ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองน้ำข้าวมารับประทานได้ทันที หรือจะเติมเกลือ น้ำตาลเล็กน้อย เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปากค่ะ

          ท้ายนี้เรามีวิธีหุงข้าวกล้องมาฝากกันค่ะ โดยถ้าอยากหุงข้าวกล้องให้อร่อยนุ่มล่ะก็ จะต้องนำข้าวกล้องไปแช่น้ำทิ้งไว้ก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดข้าวบานออกเล็กน้อย จากนั้นนำไปหุงก็จะได้ข้าวที่นุ่มน่ารับประทาน ซึ่งการหุงข้าวนี้จะทำให้สารกาบ้าถูกทำลายไป 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ถ้าทำเป็นข้าวกล้องงอกขึ้นมา จะช่วยเพิ่มสารอาหารให้มากขึ้นกว่า 10 เท่า เลยล่ะค่ะ
          รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมลองไปทำน้ำข้าวกล้องงอกทานกันนะคะ เพราะแค่รับประทานข้าวกล้อง หรือ น้ำข้าวกล้องงอก เราก็จะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมีประโยชน์ โดยไม่ต้องไปหาซื้ออาหารเสริมมารับประทานเลยล่ะ

เรื่องราวของ "ข้าวกล้อง" และ "ข้าวกล้องงอก"

สำหรับข้าวกล้องนี้ถือว่าเป็นเมนูยอดฮิตของคนรักสุขภาพเลยทีเดียว โดยข้าวกล้องนั้น ก็คือข้าวที่ผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียว เพื่อให้เปลือก (แกลบ) หลุดออกไป ดังนั้นจึงยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวที่เป็นสีน้ำตาลและสีแดง  (รำ) เหลืออยู่ ต่างจากข้าวประเภทอื่นๆที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวหลุดลอกออกไปหมดแล้ว

          จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) นี่แหละค่ะที่เป็นแหล่งอุดมไปด้วยกรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 บี 12 วิตามินซี วิตามินอี สารกาบา (Gamma amino butyric acid) เส้นใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่นิยมรับประทานข้าวกล้องมากนัก ด้วยข้าวกล้องจะมีเนื้อแข็ง เพราะมีกากเยอะจึงไม่นิ่มเหมือนข้าวประเภทอื่นๆ ทำให้รู้สึกว่าทานไม่อร่อยนั่นเอง

          ส่วนข้าวกล้องงอก เป็นเรื่องที่เพิ่งได้ยินกันไม่นานนี้เอง ซึ่งข้าวกล้องงอก (Germinated brown rice หรือ GABA-rice) เป็นข้าวกล้องที่ต้องนำมาผ่านกระบวนการงอกเสียก่อน พอนำข้าวกล้องมาแช่น้ำจนกลายเป็นข้าวกล้องงอกแล้ว จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสารกาบา และข้าวกล้องที่แช่น้ำทิ้งไว้แล้วเมื่อนำไปหุงก็จะได้ข้าวที่นุ่มน่ารับ ประทานกว่าข้าวกล้องธรรมดาด้วย

"สารกาบา" พระเอกของข้าวกล้องงอก

          สารกาบา หรือ Gamma amino butyric acid เป็นกรดอะมิโนจากกระบวนการ Decarboxylation ของ กรดกลูตามิก ( Gutamic acid) กรดนี้มีความสําคัญในการทำหน้าที่สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง และสารกาบายังเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง (Inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (Anterior Pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และเกิดสาร Lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน

         
จาก การศึกษาและวิจัยพบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น จึงได้มีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low Density lipoprotein) ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้อีก

 ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก

          ประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานข้าวกล้องงอกนั้น นอกจากจะเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากสารกาบา ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้สมองผ่อนคลาย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ บำรุงระบบประสาท หรือลดความดันโลหิตแล้ว การรับประทานข้าวกล้องงอกยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยระบบย่อยอาหาร ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ด้วย แถมยังช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ไม่ให้แก่ก่อนวัยได้อีก (สาวๆ ต้องฟังไว้) ถือได้ว่าแค่รับประทานข้าวกล้องงอกก็ครบถ้วนไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อร่าง กายทั้งสิ้น
 ผู้ที่ไม่ควรทานข้าวกล้องงอก

          สารต่างๆในข้าวกล้องงอกล้วนมีประโยชน์มากมาย ดังนั้นข้าวกล้องงอกจึงมีประโยชน์ต่อทุกเพศ ทุกวัย ยกเว้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ ที่ไม่ควรรับประทาน เพราะเมล็ดข้าวกล้อง หรือยอดผักต่างๆ ที่กำลังจะงอก จะมีสารยูริคจำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคเกิดจากการที่มีสารยูริคจำนวนมากสะสมอยู่ตามข้อ จนเกิดการอักเสบนั่นเอง

ข้าวกล้องคืออะไร ?


คือข้าวที่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออกโดยที่ยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) อยู่ ข้าวกล้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้มีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์มาก
สำหรับ ข้าวขาวที่เรากินๆ กันอยู่นั้น เป็นข้าวที่เกิดจากการขัดสีหลายๆ ครั้ง จนเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวและจมูกข้าวหลุดออกไป จนเหลือแต่เนื้อในของข้าว
ข้าวกล้อง บางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง มีโปรตีนประมาณ 7-12% (แล้วแต่พันธุ์ข้าว) นักค้นคว้าชื่อ โรสเดล ( Rosedale ) ได้วิเคราะห์ว่า การขัดสีข้าวกล้องจนมีสีขาว จะทำให้โปรตีนสูญหายไปประมาณ 30%
ประโยชน์มากมายของการกินข้าวกล้อง
ได้วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาหารอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมอง ทำให้เจริญอาหาร
ได้วิตามินบี 1 ซึ่งถ้ากินเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้
ได้วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก
ได้ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
ได้แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
ได้ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน
ได้ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
ได้โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
ได้ไขมัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันในข้าวกล้องเป็นไขมันที่ดี ไม่มีโคเรสเตอรอล
ได้ไนอะซิน ช่วยระบบผิวหนังและเส้นประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา
(โรคที่เกิดจากการขาดไนอะซิน จะมีอาการท้องเสีย ประสาทไหว โรคผิวหนัง)
ได้คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย
ได้กากอาหาร ข้าวกล้องมีกากอาหารมาก ซึ่งจะทำให้ท้องไม่ผูก และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย
วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในข้าวกล้องจะช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้าวกล้องมีอะไรดีกว่าข้าวขาว
ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่าช่วยป้องกันโลหิตจาง
ข้าวกล้องมีวิตามินบี 1 มากกว่าข้าวขาวประมาณ 4 เท่า ถ้ากินเป็นประจำ จะป้องกันโรคเหน็บชา
วิตามินบี 2 มีมากจะป้องกันโรคปากนกกระจอก
วิตามินบีรวม มีมากกว่าจะป้องกัน และบรรเทาอาการอ่อนเพลียและขาไม่มีแรง อาการปวดแสบและเสียวในขา ปวดน่อง ปวดกล้ามเนื้อ ลิ้นแตกหรือมีแผล ริมฝีปากเจ็บหรือมีแผล โรคผิวหนังบางชนิด โรคปลายประสาทอักเสบ และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทบางชนิด
วิตามินบีรวม ยังบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้นและเจริญอาหาร
ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่า ช่วยป้องกันโลหิตจาง
แคลเซียม มีมากกว่า จะทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
ไขมัน มีมากกว่าให้พลังงานแก่ร่างกาย
กากอาหาร มีมากกว่าจะช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
เกลือแร่และวิตามินต่างๆ ในข้าวกล้อง มีรวมกัน 20 กว่าชนิด มีหน้าที่ทำให้การทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
โปรตีน มีมากกว่าช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
แป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มีน้อยกว่าข้าวขาว ช่วยลดความอ้วน ส่วนคนที่ผอมจะสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น
ประหยัดเงินทอง เพราะเจ็บป่วยน้อยกว่า ข้าวกล้องจะมีราคาถูกกว่า เพราะต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า
มีผลทำให้สุขภาพจิตและสติปัญญาดีขึ้น เพราะสุขภาพกายดีขึ้น
ปริมาณสารอาหารในข้าวขาวกับข้าวกล้อง
สารอาหาร
ข้าวขาว
ข้าวกล้อง
วิตามิน – บี 1
4 จานกว่า
1 จาน
วิตามิน – บี 2
2 จาน
1 จาน
วิตามิน – บี 6
5 จานกว่า
1 จาน
กากข้าว
2 จานกว่า
1 จาน
ผลเสียของการกินข้าวขาว
โรคและอาการต่างๆ ต่อไปนี้ จะลดลงมากหรือป้องกันได้ ถ้ากิน ข้าวกล้อง เป็นประจำ และกินอาหารเพียงพอและถูกหลัก
โรคเหน็บชา เพราะขาดวิตามิน-บี 1 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 1 มากกว่าข้าวขาว 385% (พบมากในประเทศที่กินข้าวขาวเป็นอาหารหลัก)
โรคปากนกกระจอก เพราะขาดวิตามิน-บี 2 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 2 มากกว่าข้าวขาว 66% (ตามชนบทมีเด็กเป็นโรคปากนกกระจอก 60%)
โรคโลหิตจาง เพราะขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากข้าวกล้องมีธาตุเหล็กมากกว่าข้าวขาว 2 เท่า (ประชากรไทยเป็นโรคโลหิตจาง 40%)
โรค นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี) เกี่ยวเนื่องจากมาจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส และอื่นๆ ซึ่งมีในข้าวกล้อง นอกจากนั้น ฟอสฟอรัสยังช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันอีกด้วย
โรคท้องผูก เพราะมีกากอาหารน้อย ข้าวกล้องมีกากอาหารมากกว่า 133% (ข้าวกล้องช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่)
โรค ทางระบบประสาทบางชนิด และโรคปลายประสาทอักเสบ เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง (วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้น และเจริญอาหาร)
อารมณ์ เสียง่ายกว่า หงุดหงิดเพราะชาดวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินที่เสริมสร้างระบบประสาทของร่างกาย และถ้าระบบประสาทของเราไม่ดี ทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก
เบื่ออาหาร เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวขาว
โรค ขาดโปรตีน ข้าวกล้องมีโปรตีน ร้อยละ 7-12 (เด็กไทยประมาณร้อยละ 40-60 เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน) ข้าวกล้องมีโปรตีนมากกว่าข้าวขาว 20-30%
โรคผิวหนังบางชนิด ขาดวิตามินบีบางตัว
อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ ปวดเมื่อยตามตัวและขา เพราะขาดวิตามินบีรวม
โรคชัก เนื่องจากขาดวิตามิน บี 6 ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง
ข้าว ขาวมีแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) พอๆ กับข้าวกล้อง แต่มีเกลือแร่และวิตามินต่างๆ น้อยกว่าข้าวกล้อง (ในข้าวกล้องจะมีวิตามินรวมกัน 20 กว่าชนิด) ที่ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างร่างกายให้สมบูรณ์
จะ เห็นได้ว่า ผลเสียของการกินข้าวขาวมีมาก เพราะการขัดสีส่วนที่มีคุณค่าต่อร่างกายออกไป หลายท่านอาจจะกินข้าวขาว เพราะไม่รู้ว่ายังมีข้าวที่มีคุณค่ามากอย่างข้าวกล้องอยู่ จนบางคนไม่เคยรู้จักข้าวกล้องด้วยซ้ำ
คน สมัยโบราณแต่ละบ้านจะตำข้าวกินเอง ซึ่งเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งก็คือ ข้าวกล้อง คนสมัยก่อนจึงมีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคอย่างที่คนสมัยนี้เป็นกันเท่าไร เช่น โรคเบาหวาน, หัวใจวาย, มะเร็ง ฯลฯ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็เพราะการกินไม่เป็น