วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สังข์หยดพัทลุง (Sangyod Phatthalung)

ชื่อพันธุ์ - สังข์หยดพัทลุง (Sangyod Phatthalung)

ชนิด - ข้าวจ้าว


ประวัติพันธุ์ 
สังข์หยดพัทลุง เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมในจังหวัดพัทลุง ในฤดูนาปี พ.ศ. 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง หนึ่งในสามแหล่งของข้าวสังข์หยดในจังหวัด ซึ่งมีความแปรปรวนในลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรที่เก็บ คัดเลือกได้สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดบริสุทธิ์ มีความสูงของลำต้นสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวได้พร้อมก มีคุณภาพเมล็ดดี สม่ำเสมอ โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ในลักษณะดังกล่าวจำนวน 4 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2) เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 มีลักษณะดีกว่าสายพันธุ์เดิมในลักษณะความสม่ำเสมอในการสุกแก่

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ ชื่อ สังข์หยดพัทลุง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
- ต้นสูง 140 เซนติเมตร
- กอตั้ง ใบเขียว
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว 9.33 มิลลิเมตร กว้าง 2.11 มิลลิเมตร หนา 1.77 มิลลิเมตร
- ข้าวกล้องมีสีแดง รูปร่างเรียว ยาว 6.70 มิลลิเมตร กว้าง 1.18 มิลลิเมตร หนา 1.64 มิลลิเมตร ข้าวซ้อม

มือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น - ข้าวหุงสุกนุ่ม เป็นข้าวที่มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (94 มิลลิเมตร)
- ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์ 

ลักษณะเด่น
 1.สังข์หยดพัทลุง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกนุ่มเล็กน้อย ส่วนข้าวซ้อมมือเมื่อหุงสุกนุ่ม
 2. ข้าวกล้อง มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์เล็บนก-ปัตตานี จากตัวอย่างข้าวกล้อง 100 กรัม มีปริมาณไนอาซิน (Niacin) 6.46 มิลลิกรัม ใยอาหาร 4.81 กรัม และธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม
ข้อควรระวัง
1. สังข์หยดพัทลุง ไม่ต้านทานโรคไหม้
 2. ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว และควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ปลูกข้าวนาปี จังหวัดพัทลุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น