วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้าวสังข์หยด ข้าวจีไอพันธุ์แรกของไทยและของโลก

ข้าวสังข์หยด ข้าวจีไอพันธุ์แรกของไทยและของโลก

มี รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ข้าวสังข์หยดข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัด พัทลุง ได้รับประกาศคำรับรองให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ 2546 เมื่อ 23 มิ.ย. 49 ทั้งนี้คำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และการประกาศรับรองข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเป็นข้าว GI นั้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองตามกฎหมายในสิทธิชุมชนผู้ผลิตเพื่อส่ง เสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น

เพื่อเพิ่มมูลค่า ของสินค้าและเป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อพัฒนาทางด้านการค้าต่อไปและเป็น การกระตุ้นให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้าเพื่อรักษา ภาพลักษณ์ของสินค้าที่ผลิตจากท้องถิ่นตน พร้อมเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพื่อเพิ่มและกระจายรายได้สู่ท้อง ถิ่นและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและความภาคภูมิใจในการรักษาภูมิปัญญา ท้องถิ่นและเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย

สำหรับ ข้าวพันธุ์สังข์หยดนั้นจากข้อมูลที่บันทึกไว้ของกรมการข้าวระบุว่า มีแหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่ในจังหวัดพัทลุง และเป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นของจังหวัดพัทลุงที่รู้จักกันมานาน นับเป็นข้าวที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวนาภาคใต้ สมัยก่อนชาวนาจะปลูกไว้เป็นของกำนัลแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวัน สงกรานต์ ขึ้นบ้านใหม่แบบไทยโบราณ หรือใช้หุงต้มเพื่อทำบุญตักบาตรตามประเพณีนิยม เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉพาะของลักษณะข้าวกล้องแตกต่างจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง อื่น ๆ ด้วย เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีแดง เมล็ดเรียวเล็ก นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือและข้าวกล้อง ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าข้าวขาวโดยทั่วไป

เมื่อ ปี พ.ศ. 2525-2529 ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ ทั้งหมด 1,997 ตัวอย่างพันธุ์ มีตัวอย่างพันธุ์ข้าวสังข์หยดจาก 3 แหล่ง ได้แก่ สังข์หยด (KGTC 82045) จากตำบลโคกทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สังข์หยด (KGTC82239) จากตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และสังข์หยด (KGTC82267) จากตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่   เก็บรวบรวมส่วนหนึ่งส่งไปอนุรักษ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อ พันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และปลูกรักษาพันธุ์ในศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง

ต่อมาในฤดูนาปี 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) จนได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีลักษณะเมล็ดเล็กเรียวยาว ปริมาณอมิโลสต่ำ และอายุเบา

และในปี พ.ศ. 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้ตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ จังหวัดพัทลุง ขึ้นที่ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบแปลงนาในโครงการฯ จึงได้ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดและได้  มีโอกาสถวายข้าวสังข์หยดแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ทรงโปรด

ต่อมาศูนย์วิจัยข้าว พัทลุง ได้ดำเนินการยื่นคำขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติ พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 โดยกรมวิชาการเกษตรได้ประกาศออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนชื่อ พันธุ์ “ข้าวสังข์หยดพัทลุง” เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และได้ดำเนิน   การเสนอคำขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อสินค้าว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”

ปัจจุบันกระแสความนิยมการบริโภคข้าวที่มี คุณค่าทางโภชนาการเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงจึงได้พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นที่มีลักษณะพิเศษ โดยทำการคัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค มีคุณภาพและผลผลิตดีขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวนาในการผลิตข้าวคุณภาพดีให้ แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และในปี พ.ศ. 2547 จังหวัดพัทลุงได้กำหนดให้ข้าวพันธุ์สังข์หยด เป็นพันธุ์ข้าว 1 ใน 3 พันธุ์ ที่มีเป้าหมายส่งเสริมการผลิตในโครงการพัฒนาการผลิตข้าวครบวงจร ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด (ปี 2547-2550) ที่จะให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดด้วยเมล็ดพันธุ์ดี

ข้าวพันธุ์ สังข์หยดมีคุณสมบัติพิเศษในลักษณะของสีข้าวกล้องที่มีสีแดง รูปร่างเมล็ดเรียวความยาวเมล็ดข้าวกล้อง 6.70 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใสแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาว ขุ่น คุณสมบัติการหุงต้มดี ลักษณะข้าวหุงสุกนุ่ม มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (94 มิลลิเมตร) ปริมาณอมิโลสต่ำ (15.28+-2.08%) ลักษณะทรงต้นสูง 140 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 10 มกราคม เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ ซึ่งจะปักดำกลางเดือนกันยายน.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 มิถุนายน 2550 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น